บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน รวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมในหลายๆด้าน ผู้คนจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อยุคสมัยและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมโดยทั่วไปมีค่านิยมที่ให้ความสำคัญในด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ สังคมในปัจจุบันจึงกลับเสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จึงควรมีการการปลูกฝังความสำนึกให้กับบุคคล เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
นิทาน เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นการผูกเรื่องขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสอดแทรกคติสอนใจลงไป นิทานได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น สามารถใช้เป็นเครื่องปลูกฝังคุณธรรมได้อย่างดี กลุ่มผู้ศึกษาจึงสนใจจัดทำโครงงานเรื่องนิทานเวตาล อันสอดคล้องกับคุณธรรม 4 ประการ คือ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง และความกตัญญู เพื่อให้ผู้ศึกษาได้รับข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน พัฒนาทักษะการอ่านอันเป็นพื้นฐานทางการศึกษา และแสวงหาความรู้ในด้านต่างๆซึ่งเป็นการวางพื้นฐานนิสัยรักการอ่านเพื่อการค้นคว้าในระดับต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาวรรณกรรมเรื่องนิทานเวตาล อันสอดคล้องกับคุณธรรม 4 ประการ คือ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง และความกตัญญู
2.เพื่อให้ผู้ศึกษาได้รับข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขอบเขตการศึกษา
1.ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและหนังสือ วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่อง นิทานเวตาล
2.ได้รับข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3.ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในสมัยโบราณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น