บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ความหมายวรรณกรรม
     วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการแล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก  วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีเรียกว่า
"วรรณคดี"  สำหรับวรรณคดีนั้นต้องเป็นวรรณกรรม แต่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดี
คำนิยาม "วรรณกรรม คือภาษาศิลป์ ที่สร้างจินตนาการ ให้อารมณ์ ให้ความรู้และความเพลิดเพลิน"
ซึ่งปัจจุบันวรรณกรรมมุ่งเน้นที่ความรู้ และความเพลิดเพลินของผู้อ่าน ส่วนภาษาศิลป์นั้นจะเป็นแบบใดก็ได้
                     วรรณกรรมมีความหมายครอบคลุมถึงงานเขียนต่างๆดังต่อไปนี้
1.งานเขียนทั่วๆไป เป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องศิลปะหรือกลวิธีในการเขียน เช่น ตำรา เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น
2.งานเขียนที่ต้องมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ จะเป็นงานเขียนประเภทใดก็ได้ แต่ต้องแต่งอย่างมีศิลปะมีความประณีตงดงาม มีกลวิธีสร้างอารมณ์สะเทือนใจ และทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม งานเขียนที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร บทความ สารคดี เป็นต้น
                   ดังนั้นวรรณกรรมจึงมีความหมายที่กว้างกว่าวรรณคดี ซึ่งมีความหมายครอบคลุมงานเขียนทุกชนิด
 ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ  นิทาน  ตำนาน  เรื่องเล่าขำขัน  เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
     วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์
1.ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่
         1.ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
         2.ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
         3.ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

2.ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้

                นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมเรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี
( https://sites.google.com/site/reportofstudysubjects/bth-wrrnkrrm-naew-karmeuxng-khxng-thiy/-khwam-hmay-wrrnkrrm )


2. ความเป็นมาของวรรณกรรม
                 ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้นๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่างๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น
จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับวรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทาง วรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี
        อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีตมีความเหมาะสมในด้านต่างๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งวรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรมแต่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป
(https://sites.google.com/site/reportofstudysubjects/bth-wrrnkrrm-naew-karmeuxng-khxng-thiy/-khwam-hmay-wrrnkrrm)

3. ความเป็นมาของนิทานเวตาล
              นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง                   กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ 10 เรื่อง               เมื่อ พ.ศ. 2461
( https://sites.google.com/site/phasathiym4/raywicha-phasa-thiy-chan-mathymsuksa-pi-thi4/bth-thi3-reuxng-nithan-wetal-reuxng-thi10 )


4. ความหมายของนิทานซ้อนนิทาน
                 นิทานซ้อนนิทานเป็นลักษณะการแต่งเรื่องที่พบในนิทานเวตาล พันหนึ่งราตรี นักวิชาการบางคนให้ความเห็นว่านิทานเอเชียโบราณนี้อาจได้รับอิทธิพลจากกรีกที่ทำสงครามขยายดินแดนและทำการค้าขายกับโลกทางฝั่งตะวันออก (เอเชีย) ลักษณะของนิทานซ้อนนิทานทั่วไปจะเป็นการแทรกนิทานเรื่องย่อยเข้าไปอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่ แต่ไม่ได้หมายความว่านิทานที่มีเรื่องราวหลายเรื่องหลายตอนจะเป็นนิทานซ้อนนิทานเสมอไป ต้องเป็นนิทานที่มีปริศนาปิดท้ายนิทานย่อยภายในเรื่องหรือเป็นนิทานที่มีการทิ้งตอนไว้เป็นปมให้กับเรื่องต่อไปเพื่อทำการเชื่อมโยงระหว่างเรื่อง แบบนี้ถึงเรียกได้ว่าเป็นนิทานซ้อนนิทาน
( http://hiyorichann.blogspot.com/2014/09/blog-post_24.html)


5. ความหมายของความซื่อสัตย์
                 ความซื่อสัตย์ หมายถึง แง่มุมหนึ่งของศีลธรรม แสดงถึงคุณลักษณะทางบวกและคุณธรรม อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ และความตรงไปตรงมา พร้อมด้วยความประพฤติตรง ตลอดจนการงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือการลักขโมย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ความซื่อสัตย์ยังหมายถึงความน่าไว้วางใจ ความภักดี ความเป็นธรรมและความบริสุทธิ์ใจอีกด้วย
(https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C )

6. ความหมายของวินัย
                    วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข  การงานที่ทำก็จะเสียผลดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง  ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันยู่ออย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบเสมือนวินัย
(https://pawsri1401.wordpress.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87/ )


7. ความหมายของความพอเพียง
              พอพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ
( https://www.im2market.com/2015/11/30/2111 )

8. ความหมายของความกตัญญู
                  ความกตัญญู คือ การรู้สึกสำนึกในคุณ ด้วยแสดงความเคารพ นับถือ เชื่อฟัง และช่วยเหลือในกิจการงานต่าง ๆ การกระทำเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและหน้าที่การงาน ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี การที่เยาวชนไทยได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างภูมิ คุ้มกันให้สังคม การเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอบรมและส่งเสริมพฤติกรรมของเยาวชนให้มีคุณลักษณะของการเป็นคนมีความกตัญญู ความตระหนักรู้ในคุณของบุคคล สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อตนเองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

(http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B9/)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น