บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
            จากการที่กลุ่มผู้ศึกษาโครงงานได้ศึกษาโครงงานนิทานเวตาล ฉบับพระนิพนธ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น พิทยาลงกรณ เรื่องที่ 10 พบว่า นิทานเวตาลได้สะท้อนคุณค่าในเรื่องคุณธรรมหลายข้อด้วยกัน ดังต่อไปนี้

1. ซื่อสัตย์
        ท้าวจันทรเสนกับพระราชบุตรทั้งสองทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าหญิง จึงตกลงกันว่าให้สตรีที่มีรอยเท้าใหญ่เป็นพระมเหสีของพระราชบิดา ส่วนสตรีที่มีรอยเท้าเล็กให้เป็นของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งสอง ท้าวจันทรเสนกับพระราชบุตรก็ได้รักษาสัจจะ ซึ่งสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ”

2. มีวินัย
         พระวิกรมาทิตย์ได้ใช้ความเพียรพยายามในการจับตัวเวตาลหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีวินัยของพระวิกรมาทิตย์ ตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “วินโย จ สุสิกฺขิโต”

3. พอเพียง
         ฝ่ายพวกภิลล์ที่ประพฤติตัวเป็นโจรพยายามที่จะชิงทรัพย์ท้าวมหาพล ถ้าหากว่าฝ่ายพวกภิลล์มีความพอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ก็ไม่ต้องมาเป็นโจรเพื่อชิงทรัพย์ให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า  “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ”

4. ความกตัญญู
        พระราชบุตรยอมให้ท้าวจันทรเสนมีพระราชชายา โดยให้เหตุผลว่า “ขอพระองค์อย่ารับสั่งเช่นนั้น เพราะบ้านของผู้เป็นใหญ่ในครอบครัวนั้น ถ้าไม่มีแม่เรือนก็เป็นบ้านที่ว่าง อนึ่งพระองค์ย่อมจะทรงทราบคาถาซึ่งมูลเทวะบัณฑิตแต่งไว้ มีความว่า ชายผู้ไม่ใช่คนโง่ ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น แม้เรียกว่าเรือนก็ไม่ใช่อื่น คือคุกซึ่งไม่มีโซ่เท่านั้นเอง  พระองค์ย่อมทรงทราบด้วยพระองคืเองว่า ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่โดดเดี่ยวนั้นมีไม่ได้ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้าน เพราะไม่มีหวังจะได้ความสุขเมื่อกลับมาสู่เรือนแห่งตน” ซึ่งแสดงถึงความกตัญญูของพระราชบุตรที่มีต่อท้าวจันทรเสน สอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า  “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น